ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ตอนที่ 2 เดินทางซีอาน สุสานจักรพรรดิจิ๋นซีฮ่องเต้ (ซีอาน )

ตอนที่ 2 เดินทางซีอาน สุสานจักรพรรดิจิ๋นซีฮ่องเต้ (ซีอาน )
ตอนที่ 1  ตอนที่ 2  ตอนที่ 3





โรงงานปั้นตุ๊กตาจิ๋นซี 












































สิ่งมหัศจรรย์อันดับ 8 ของโลก สุสานกองทหารม้าดินเผา

นักโบราณคดีของจีนยังพบด้วยว่า หุ่นทหารดินเผาทุกตัว มีตราประทับอักษรบนตัวมากกว่า 80 ชื่อ จึงมั่นใจว่าผู้สร้างหุ่นทหารดินเผาทั้งหมดคือบรรดา ช่างปั้นหม้อ ในสมัยฉินสมัยนั้น ช่างปั้นหม้อจัดเป็นชนชั้นต่ำในสังคม บางพวกเคยทำงานรับใช้ในราชสำนักและสืบทอดวิชาความรู้จากครูหรือบรรพบุรุษ ซึ่งมีเอกลักษณ์งานปั้นเฉพาะตัว รับคำสั่งเกณฑ์พลจากทุกแห่งเพื่อสร้างกองทัพทหารดินเผา

ห่างจากหลุมหมายเลข 1 ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ประมาณ 20 เมตร นักโบราณคดีขุดพบหุ่นทหารดินเผาอีกกลุ่มหนึ่ง เรียกว่า หลุมหมายเลข 2 ลักษณะหลุมคล้ายอักษรรูปตัวแอล (L) มีพื้นที่ประมาณ 6,000 ตารางเมตร ขุดพบในปี พ.ศ.2519 ความกว้างจากทิศเหนือไปทิศใต้ประมาณ 98 เมตร มีความยาวจากทิศตะวันออกไปตะวันตก ราว 124 เมตร เปิดให้สาธารณชนได้เข้าชมและศึกษาเกี่ยวกับโบราณวัตถุทางประวัติศาสตร์ในปี พ.ศ.2538 โดยทำทางเดินไว้ให้นักท่องเที่ยวชมได้โดยรอบหลุม

เอกสารระบุว่าภายในหลุมหมายเลข 2 พบกองทัพทหารดินเผาจำนวน 4,000 ตัว รถม้าไม้ 89 คัน หุ่นม้าศึก 500 ตัว แบ่งออกเป็น 4 แถว ประกอบไปด้วยเหล่าขุนพลทหารม้า ขุนทหารประจำรถม้าศึก ซึ่งมีรูปร่างสูงใหญ่ สวมหมวกหนัง รองเท้าบูต มือข้างหนึ่งถือธนู ม้าศึกมีลักษณะแข็งแรงปราดเปรียว ทุกตัวจัดตามลำดับแถว นักโบราณคดีลงความเห็นว่านี่คือทหารกองหน้าอย่างแท้จริง เนื่องจากเป็นกองกำลังที่มีรถศึกเป็นจำนวนมาก ใช้ทำหน้าที่จู่โจมและกรุยทางเข้าไปก่อน ต่างจากหลุมหมายเลข 1 ที่มีพลทหารเป็นหลัก

หลุมหมายเลข 2 นี้ยังมีส่วนที่ใช้วัสดุคลุมไว้รอการขุดแต่ง ขณะที่เข้าไปชมก็ยังมีเจ้าหน้าที่โบราณคดีทำงานอยู่พื้นที่ทางเดินด้านหนึ่งของหลุมหมายเลข 2 จัดแสดงหุ่นทหารดินเผาที่นำขึ้นมาจากหลุม เก็บไว้ในตู้กระจกนิรภัย ให้ชมอย่างใกล้ชิดตั้งแต่พลทหาร พลธนู ทหารม้า และแม่ทัพ เป็นอีกจุดหนึ่งที่นักท่องเที่ยวทำงาน(เก็บภาพ)กันอย่างหนัก

อีกหลุมที่ขุดพบเรียกว่า หลุมหมายเลข 3 มีลักษณะเป็นรูปตัว U อยู่ทางทิศตะวันออกของหลุมที่ 2 รัฐบาลจีนขุดค้นพบในปี พ.ศ.2519 เช่นกัน มีขนาดพื้นที่ประมาณ 520 ตารางเมตร เป็นหลุมที่เล็กที่สุด แต่มีความสำคัญยิ่งกว่าหลุมหมายเลข 1 และหมายเลข 2 เนื่องจากเป็น กองบัญชาการรบ ที่นักโบราณคดีลงความเห็นเช่นนี้ก็เนื่องจากกองทัพทหารดินเผาทุกตัวในหลุมนี้มีอาวุธครบมือ เข้าแถวรักษาการณ์แบบเผชิญหน้ากันทางทิศเหนือกับทิศใต้ข้างละ 2 แถว แสดงถึงการคุ้มกันทหารคนสำคัญซึ่งหมายถึงบรรดาแม่ทัพ


รถม้าที่ขุดพบในหลุมหมายเลข 3 ก็ช่วยยืนยันความสำคัญของนายทหาร เนื่องจากพบว่าเป็นรถที่ใช้ม้า 4 ตัวลาก ซึ่งเป็นรถม้าของนายทหารชั้นแม่ทัพ ต่างจากรถม้าในหลุมหมายเลข 1 นอกจากนี้ยังพบเขากวางและกระดูกสัตว์มากมาย คาดว่าใช้เป็นเครื่องรางของขลังซึ่งแม่ทัพใช้ประกอบพิธีกรรมก่อนการออกรบ หลุมหมายเลข 3 นี้เปิดให้สาธารณชนเข้าชมในปี พ.ศ.2532


ว่ากันว่าผู้ทำหน้าที่จัดวางตำแหน่งกองทัพทหารดินเผาภายในสุสาน ได้วางตำแหน่งอย่างเป็นระเบียบ ทหารดินเผาทุกตัวอยู่ในท่าเตรียมพร้อม ประกอบไปด้วยทหารดาบ ทหารเกาทัณฑ์ ทหารหอก รถม้าศึก โดยเลือกชัยภูมิจัดผังออกแบบค่ายเป็นรูปสี่เหลี่ยม ล้อมรอบด้วยกำแพงดินพูนสูงขึ้น มีคูอยู่นอกกำแพงเมือง ตัดถนนอยู่ภายในเป็นทางเดินกองทหาร มีด่านกันไฟเป็นระยะ ตรงกลางค่ายเป็นที่ตั้งกองบัญชาการ ล้อมด้วยเหล่าเสนาบดีที่ปรึกษา หน่วยทหารที่เป็นหน่วยกล้าตายและองครักษ์ ทำหน้าที่คุ้มกันจิ๋นซีฮ่องเต้

การจัดวางกองทัพทหารดินเผาเป็นการยืนยันถึงภาพที่ชัดเจนของ ตำราพิชัยสงครามซุนวู ที่ในสนามรถมักส่งรถศึกทหารม้าที่มีความคล่องตัวสูง (ทหารดินเผาที่พบในหลุมหมายเลข 2) กรุยทางไปก่อน แล้วจึงให้พลทหารในหลุมหมายเลข 1 เข้าโจมตี

ภารกิจหลักประการหนึ่งของนักท่องเที่ยว ในการเดินชมกองทัพใต้ดินจิ๋นซีฮ่องเต้ คือการเพ่งพินิจใบหน้าหุ่นทหารดินเผา ซึ่งจำลองบุคลิกของทหารจริงในเวลานั้น เป็นใบหน้าที่มีรายละเอียดครบถ้วนแม้ถูกกาลเวลากัดกร่อน ไม่ว่าจะเป็นดวงตา แนวคิ้ว ริมฝีปาก หนวดเครา โดยเฉพาะ ทรงผม ที่ใช้บอกตำแหน่งฐานะในกองทัพได้ ตั้งแต่หุ่นทหารดินเผาที่มัดผมไว้ธรรมดาไปจนถึงการจัดแต่งทรงผมแบบ เหอก้วน ที่หมายถึงนายทหารที่มียศสูงระดับแม่ทัพ ผู้ทำผมทรงนี้มีทหารใต้ปกครองจำนวน 10,000 คน

นอกจากการขุดพบกองทัพทหารดินเผาจำนวนมาก รัฐบาลจีนยังขุดพบโลงไม้ ยาว 7 เมตร กว้าง 2.3 เมตร ฝังอยู่ใต้พื้นดิน ห่างจากสุสานใต้ดินจิ๋นซีฮ่องเต้ไปทางทิศตะวันตกราว 20 เมตร เมื่อนำขึ้นมาและเปิดฝาโลงออกก็พบกับ ขบวนรถม้าสำริดจำลองของจิ๋นซีฮ่องเต้ มีความยาว 3.17 เมตร กว้าง 1.06 เมตร รูปทรงสี่เหลี่ยม คลุมด้วยหลังคารูปไข่ ชิ้นส่วนต่างๆ ที่ประกอบเป็นตัวรถม้าส่วนพระองค์จำลองรวม 3,462 ชิ้น ประดับด้วยทองคำและเงินจำนวนมากกว่า 1,000 ชิ้น ฝีมือประณีตสวยงาม ใช้เทคนิคงานโลหะผสม สร้างขึ้นเพื่อให้เป็นรถม้าประจำพระองค์ในภพหน้า ปัจจุบันจัดแสดงไว้ในอาคารอีกหลังหนึ่งในบริเวณ 'พิพิธภัณฑ์กองทัพทหารดินเผา'

ที่มาของข้อมูล https://www.ilovetogo.com/Article/71/407/





























































































































รับประทานอาหารกลางวัน





เจดีย์ห่านป่าเล็ก
คู่แฝดของเจดีย์ห่านป่าใหญ่ วัดเจี้ยนฝูสร้างขึ้นเมื่อปี ค.ศ.684 บนพื้นที่อันเป็นวังเดิมของฮ่องเต้สุยหยางตี้หยางกว่าง เพื่อเป็นอนุสรณ์ครบรอบ 100 วันการสวรรคตของฮ่องเต้ถังเกาจง  โดยแต่เดิมมีการตั้งชื่อว่า วัดเสี้ยนฝู กระทั่งปี ค.ศ.690 ในสมัยของพระนางบูเช็กเทียน (อู่เจ๋อเทียน) จึงได้เปลี่ยนชื่อเป็นวัดเจี้ยนฝู

ขณะที่เจดีย์ห่านป่าเล็กนั้นสร้างขึ้นในรัชสมัยของฮ่องเต้ถังจงจง  ระหว่างช่วงปี ค.ศ.707-709 โดยสร้างเป็นเจดีย์ทรงสี่เหลี่ยมเหมือนเจดีย์ห่านป่าใหญ่ แต่รูปทรงเล็กกว่าและเตี้ยกว่าเล็กน้อย

คนซีอานมีตำนานบันทึกความมหัศจรรย์เกี่ยวกับ เจดีย์ห่านป่าเล็ก หลายต่อหลายเรื่อง โดยเรื่องที่เป็นที่กล่าวขานกันมาก ก็คือ เรื่องราวของตัวเจดีย์ที่คงกระพันและศักดิ์สิทธิ์จนผ่านพ้นมหันตภัยทางธรรมชาติมาได้ ทั้งยังมีตำนาน "การรวมแล้วแยก แยกแล้วรวม" อีกหลายครั้งหลายครา

โดยเรื่องราวมีอยู่ว่า ในสมัยราชวงศ์หมิง (ปี ค.ศ.1556) เกิดเหตุแผ่นดินไหวใหญ่ขึ้น แผ่นดินไหวครั้งนั้นรุนแรงถึงขนาดมีผู้เสียชีวิตมากมายกว่า 820,000 คน แรงสั่นสะเทือนส่งให้บ้านเรือนและสิ่งก่อสร้างต่างก็เสียหายและล้มระเนระนาดไปเป็นจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม เจดีย์ห่านป่าเล็ก ที่สูงเสียดฟ้าองค์นี้กลับได้รับความเสียหายจากแผ่นดินไหวเล็กน้อยเพียงแค่ส่วนยอด และยืนตระหง่านอยู่ได้อย่างไม่สะทกสะท้าน ขณะที่แผ่นดินไหวครั้งอื่นๆ แม้จะทำให้ตัวเจดีย์ได้รับความเสียหายมีรอยแยก แต่เมื่อเกิดแผ่นดินไหวครั้งถัดมารอยแยกนั้นก็เลื่อนกลับมาปิดสนิทเหมือนดังเดิมอีกครั้ง

ปรากฎการณ์เช่นนี้เองทำให้คนซีอาน ร่ำลือกันว่า เจดีย์ห่านป่าเล็กนี้เป็นเจดีย์ศักดิ์สิทธิ์ ทั้งยังเป็นสัญญาณบ่งบอกกับผู้ปกครองว่า เมื่อบ้านเมืองวุ่นวายประชาชนเดือดร้อนเจดีย์ห่านป่าเล็กจะมีรอยแยก แต่เมื่อบ้านเมืองสงบสุขประชาชนสุขสบายรอยแยกบนเจดีย์ก็จะเลื่อนตัวกลับและเลือนหายไป

นับถึงปัจจุบัน เจดีย์ห่านป่าเล็กนี้ก็มีอายุเกือบ 1,300 ปีแล้ว จากแต่เดิมที่สูง 15 ชั้น หลังจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวเมื่อปี ค.ศ.1556 ทำให้ส่วนยอดขององค์เจดีย์พังไป และหลงเหลือตัวเจดีย์ไว้ให้ชนรุ่นหลังชมเพียง 12 ชั้น รวมความสูง 43.3 เมตร

สำหรับความสำคัญของวัดเจี้ยนฝู และเจดีย์ห่านป่าเล็กนั้น นอกจากจะเป็นวัดที่สร้างโดยฮ่องเต้ และอยู่ในความดูแลของราชสำนักถังแล้ว วัดแห่งนี้ก็ยังเป็นสถานที่แปลและเก็บ พระไตรปิฎก พระธรรมวินัย และคัมภีร์ทางพุทธศาสนาที่ พระอี้จิง อัญเชิญมาจากอินเดียและอาณาจักรศรีวิชัยอีกด้วย

จากความมุมานะ อุตสาหะในการเผยแพร่พระธรรมคำสอนขององค์พระสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของพระสงฆ์รุ่นแล้วรุ่นเล่า นับช่วงเวลาแล้วเป็นร้อยๆ พันๆ ปี ส่งผลให้ ศาสนาพุทธ ปรัชญาที่มีต้นกำเนิดอยู่ภายนอกแผ่นดินจีนสามารถส่งอิทธิพลทั้งในทางกว้างและในทางลึกต่อสังคมจีน

ทางกว้างคือ ปรัชญาพุทธได้แพร่กระจายไปเข้าในสังคมจีนทุกชนชั้นและหลายเผ่าพันธุ์ ไม่เฉพาะแต่เพียงชาวฮั่นเท่านั้น ส่วนในทางลึกคือนอกจากจะมีการสืบทอดกันมาหลายยุคหลายสมัยนับเป็นพันปีแล้ว การไหลเรื่อยเข้ามายังแผ่นดินจีนของศาสนาพุทธนั้น ถึงแม้จะมีอุปสรรค หรือ การปะทะกับความเชื่อ-ปรัชญาท้องถิ่นบ้าง แต่สุดท้ายเมื่อผ่านการถกเถียง แลกเปลี่ยนและพัฒนา สุดท้ายศาสนาพุทธก็สามารถหลอมรวมเข้ากับความเชื่อและปรัชญาท้องถิ่นของจีนที่มีอยู่เดิมได้เป็นอย่างดี

ที่มาข้อมูล http://www.manager.co.th/China/ViewNews.aspx?NewsID=9480000156515
















































พิพิธภัณฑ์ซีอาน ที่รวบรวมโบราณวัตถุที่ขุดพบขากสุสานโบราณและของเก่าจากที่ต่างๆ  อยู่ใกล้กับ เจดีย์ห่านป่าเล็ก




















กำแพงเมืองโบราณซีอาน

กำแพงเมืองโบราณ ได้ถูกสร้างขึ้นอันเกิดแนวคิดจากการกักตุนอาหาร และการสร้างเกราะกำลังที่แข็งแกร่งของกองทัพ ในสมัยราชวงศ์หมิง โดย ฉู หยวน ฉาง ฮ่องเต้องค์แรกของราชวงศ์ หมิง กำแพงเมืองแห่งนี้ เป็นกำแพงเมืองที่ความสมบูรณ์ที่สุดในประเทศจีน และยังเป็นระบบป้องกันกองทัพโบราณที่ใหญ่ที่สุดในโลกอีกด้วย โดยมีความสูง 12 เมตร ( 40 ฟุต) ด้านบนสุดมีความกว้าง 12-14 เมตร (40-45 ฟุต) หนา 15-18 เมตร ลึก วัดโดยรอบถึง 13.7 กม. มีป้อมปราการยื่นออกจากตัวกำแพง ทุก ๆ 120 เมตร รวมทั้งสิ้น 98 ป้อม เพื่อป้องกันข้าศึกที่จะปีนขึ้นกำแพง ในแต่ละป้อมจะมีทหารยามประจำอยู่ ด้านข้างของแต่ละป้อมจะมีช่องยิงธนู ด้านนอกกำแพง จะมีส่วนที่ยิ่นออก จำนวน 5,948 จุด เพื่อเป็นช่องไว้สำหรับพุ่งอาวุธไปยังข้าศึกที่เข้าใกล้กำแพง ภายในแต่ละป้อมจะมีลูกกรง เพื่อป้องกันทหารไม่ให้ตกลงมาลงพื้น





















































รับประทานอาหารเย็น

























ระหว่างรอชมโชว์ราชวงศ์ถัง











ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ตอนที่ 1 เดินทางเ แคชเมียร์ ประเทศอินเดีย 10-17 เมษายน 2560 (10 เมษายน 2561)

ตอนที่ 1 เดินทางเ แคชเมียร์ ประเทศอินเดีย 10-17 เมษายน 2560 (10-11 เมษายน 2561) การเตรียมตัว สนามบินสุราษฎร์ธานี   สนามบินดอนเมือง สนามบินสุวรรณภูมิ  สนามบินนิวเดลี สนามบินศรีนาคา  เข้าพักที่ Chicago Group of Houseboats ตอนที่ 1    ตอนที่ 2     ตอนที่ 3    ตอนที่ 4     ตอนที่ 5     ตอนที่ 6 การเตรียมตัวก่อนการเดินทาง จองตั๋วเครื่องบิน การซื้อทัวร์ที่ SRINAGAR การขอ E-VISA การทำประกันการเดินทาง เดินทางในประเทศ เที่ยวไป 10 เมษายน 2561 เดินทางโดย นกแอร์ สุราษฎร์ธานี - ดอนเมือง เวลา 18.10 - 19.20 น. เที่ยวกลับ 17 เมษายน 2561 เดินทางโดยไลออนแอร์ ดอนเมือง - สุราษฎร์ธานี 08.50-10.00 น. เดินทางต่างประเทศ เดินทางโดย Spice Jet http://www.spicejet.com/ เที่ยวไป SG88 วันที่ 11 เมษายน 2561 จากสนามบินสุวรรณภูมิ BKK - สนามบินเดลี DEL/ T3  เวลา 03.50-06.25 เที่ยวไป SG937 วันที่ 11 เมษายน 2561 จากสนามบินเดลี DEL- สนามบินศรีนาคา SXR  เวลา 09.50-11.40 เที่ยวกลับ SG144 วันที่ 16 เมษายน 2561 จากสนามบินศรีนาคา SXR -สนามบินเดลี DEL เวลา 12.20-14.00 เที่ยวกลับ SG87 วันที่ 16

ตอนที่ 1 เดินทางเลห์ ลาดักห์ ประเทศอินเดีย 7-15 เมษายน 2560 (7-9 เมษายน 2560 เดินทาง โกลกัตตา-นิวเดลี-เลห์)

ตอนที่ 1 เดินทางเลห์ ลาดัก ประเทศอินเดีย (เตรียมพร้อมก่อนเดินทาง เดินทางจากสุราษฎร์ธานี-สนามบินดอนเมือง-สนามบินสุวรรณภูมิ - สนามบินกัลกัตตา Kolkata I -สนามบินนิวเดลลี) ตอนที่ 1   ตอนที่ 2   ตอนที่ 3   ตอนที่ 4   ตอนที่ 5   ตอนที่ 6 ก่อนเดินทางไปเลห์ ลาดัก ประเทศอินเดีย สิ่งแรกก็ต้องศึกษาข้อมูลเบื้องต้นก่อนก็คือดูว่าอยู่ส่วนไหนของประเทศอินเดีย ครั้งนี้เป็นครั้งที่ 2 ที่เดินทางไปอินเดีย ครั้งแรกไปสิกขิมอยู่ทางเหนือของอินเดีย อยู่ระหว่าเนปาลกับภูฎาน แต่เลห์ ลาดัก จะขึ้นไปทางเหนือของอินเดียมากกว่าสิกขิม เลยเมืองนิวเดลี ขึ้นไป ทางด้านปากีสถานดูแผนที่ด้านล่างประกอบนะคะ ต่อมาก็เริ่มศึกษาจากรีวิว เลห์ ลาดักห์ จากหลายๆแหล่ง มีเยอะมากแสดงว่าคนนิยมมาเที่ยวที่นี่ โดยเฉพาะจาก YouTube ชอบหลายคลิป โดยเฉพาะของรายการคนค้นคน...และของรายการ Travel Channel Thailand ช่วงนี้ว่างเป็นต้องชมคลิป เลห์ ลาดักห์.....เพื่อความสะดวกในการชมคลิปขอนำมาแปะที่หน้าบล็อกนี้เลย.....นี่ขนาดยังไม่ได้เดินทางไปนะคะยังฟินขนาดนี้.....😍😍 ลำดับต่อมาก็คือการจองตั๋ว ปกติไปเที่ยวต่างประเทศก็ไม่ค่อยได้

ตอนที่ 4 เดินทางเลห์ ลาดักห์ ประเทศอินเดีย 7-15 เมษายน 2560 (12 เมษายน 2560 LEH)

ตอนที่ 4 เดินทางเลห์ ลาดักห์ ประเทศอินเดีย 7-15 เมษายน 2560 (12 เมษายน 2560 LEH) ตอนที่ 1    ตอนที่ 2    ตอนที่ 3    ตอนที่ 4    ตอนที่ 5    ตอนที่ 6 12 เมษายน 2560 ตื่นเช้าเตรียมพร้อมสำหรับเดินทางผ่านภูเขาหิมะจากตัวเมือง Leh Ladakh สู่ Pangong Lake ทะเลสาบน้ำแข็ง กำหนดว่าจะออกเดินทาง 6.00 น. โดยเค้าจะเตรียม Breakfast Box ให้ อากาศจะหนาวมากให้เตรียมของไปให้พร้อมด้วย น้ำดื่ม และอ๊อกซิเจนกระป๋องห้ามลืมนะคะสำคัญมากๆ คณะที่ไปทะเลสาบปันกองมีที่ขอ Permit ไว้ 7 คน (น้าวัช น้องเขม น้องเอ็ต น้องพลอย น้องกิต พี่ตุ๊ พี่แดง ) ยื่นขอไว้ตั้งแต่วันแรกที่เรามาถึง หิมะตกมากทางปิดมา 2-3 วันแล้วโชคดีที่วันนี้ไปได้ ระยะทางประมาณ 120 km ใช้เวลาเดินทางถึง 6 ชั่วโมงไปกลับ 12 ชั่วโมง...บรรยากาศระหว่างการเดินทางดูจากภาพนะคะ ชัดเจนกว่าการบรรยายแน่นอน...แบ่งเส้นทางเป็น 3 ระดับ ระดับที่ 1 คือช่วงที่ออกจากเมือง Leh ถนนลาดยาง ระดับที่ 2 เริ่มออกนอกเมือง เริ่มเป็นถนนหิน+ดิน ระยะที่ 3 เป็นถนนที่เลียบภูเขาและผ่านหิมะ ค่อนข้างโหด........... จุดที่พักเข้าห้องน้ำ จุดแรกหนาวมากๆๆๆๆๆ เดินไปห้องน้ำ ต้องเ