ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ตอนที่ 2 เดินทาง 3 แคว้นแดนอินเดีย (นิวเดลี อักรา ) 9-10 กรกฎาคม 2560

ตอนที่ 2 ท่องเที่ยวอินเดีย (นิวเดลี อักรา ) 9-10 กรกฎาคม 2560

ส่วนนำ  ตอนที่ 1  ตอนที่ 2  ตอนที่ 3  ตอนที่ 4  ตอนที่ 5

เช้านี้ที่  Hotel city center โกลกัตตา มีเซอร์ไพร อีกแล้วล่ะ ลงไปหา Restaurant พนักงานบอกว่าเดี๋ยวจะไปบริการที่ห้อง ให้รอที่ห้องเลย ก็รอแล้วรออีก คณะที่ลงไปที่ Lobby เค้าได้ทานกันแล้ว ตัดสินใจลงมา Lobby ด้วยดีกว่า ฮือๆๆๆๆ อาหารเช้ามีชาและขนมปังแห้งๆ อยากจะร้องไห้ ซักครู่แต่ละห้องก็คุยเรื่อง Big Surprise แต่ละห้อง เลยลงมติกันว่าให้เด็กๆ ช่วยไปเขียน reviewในพันทิพย์หรือในเว็บของเค้าหน่อย เพราะภาพใน Booking.com กับของจริงมันคนละเรื่องกัน...แต่ก็ไม่เป้นไรถือว่าเป็นประสบการณ์การเดินทาง ต้องรับได้ทุกสถานการณ์...ลืมเรื่อง  Hotel city center คิดถึงความสุขและประสบการณ์ข้างหน้าดีกว่า มีความสุขกว่าเยอะ 555..




ได้เวลารถมารับพวกเราไปที่เที่ยวอักรา กัน วันนี้เดินทางโดยรถบัส นั่งสบายกว่าเมื่อวาน เมื่อวานเรานั่งรถมินิบัสกัน ระหว่างทางก็ชมวิถีชีวิตก็คล้ายๆกันอย่างภาพด้านล่าง



รับประทานอาหารกลางวันที่ร้าน Priya Resturant อาหารที่นี่ส่วนใหญ่ก็เป็นไก่







ชมอักราฟอร์ด (Agra Fort)
Agra Fort ... ป้อมปราการหินทรายแดง มรดกโลกของเมืองอัครา ..แหล่งมรดกโลกริมแม่น้ำยมุนาเมื่อพูดถึงป้อมปราการ กำแพงเมือง และพระราชวัง ..อินเดียมีสิ่งเหล่านี้อยู่มากมายแทบจะทุกเมือง .. คงเป็นเพราะอินเดียมีประวัติศาสตร์ยาวนาน มีกษัตริย์หลายราชวงศ์ผลัดเปลี่ยนกันปกครองดินแดนแห่งนี้ กำแพงเมืองจึงถูกสร้างขึ้นเพื่อปองกันเมืองจากข้าศึกที่มารุกรานสิ่งก่อสร้างหลายๆแห่งในประเทศอินเดียถูกสร้างขึ้นอย่างยิ่งใหญ่อลังการ เพื่อแสดงความยิ่งใหญ่ของผู้สร้างและราชวงศ์หรือตระกูลของผู้นั้น ..เมื่อวันเวลาผันผ่าน สถาปัตยกรรมเหล่านี้ได้กลายเสมือนทูต ที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อเรื่องราวที่เคยเกิดขึ้นในอดีตกับลูกหลานอินเดียและผู้มาเยือนในปัจจุบัน ป้อมแห่งนี้ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำยมุนา ห่างจากทัชมาฮาลราว กิโลเมตร ป้อมในรูปลักษณ์ที่เราเห็นในปัจจุบันเริ่มสร้างมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 11  ในรัชสมัยของกษัตริย์อัคบาร์  และมีการก่อสร้างมาเรื่อยๆ จนถึงสมัยของ ชาห์ จาฮัน ผู้เป็นหลานชาย ป้อมแห่งเป็นสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ ด้วยเป็นที่กษัตริย์ชาห์ จาฮัน ถูกพระโอรสโอรังเซป พระโอรสองค์ที่ 4 กักบริเวณเอาไว้ในพระตำหนักหินอ่อน Shish Mahal และหอคอยแปดเหลี่ยม Musamman Burj ... ซึ่งอยู่ในมุมที่มองเห็นทัช มาฮาลได้ดีที่สุด เป็นเวลาถึง 8 ปี ในปี ค.ศ. 1666  พระองค์สิ้นพระชนม์ในท่าจ้องมอง ทัช มาฮาล

ว่ากันว่า .. หลังจากที่สร้าง ทัช มาฮาล เสร็จเรียบร้อยลัว กษัตริย์ ชาห์ จาฮาล มีพระประสงค์ที่จะสร้างหอคอยหินอ่อนสีดำ ณ ฝั่งตรงข้ามทัช มาฮาล เพื่อฝังพระศพของพระองค์เอง แต่พระโอรสไม่เห็นด้วย
..ประกอบกับอาจจจะมองว่าพระบิดาหมดความชอบธรรม เพราะมัวแต่ทุ่มเทเงินทองและเวลาในการสร้างสุสานให้พระมารดา จนไม่มีเวลาทำงานราชการให้บ้านเมืองเหล่านี้ จึงอาจจะเป็นสาเหตุที่จับพระบิดาขังไว้ในป้องอัคราแห่งนี้ จนสิ้นพระชนม์ และนำพระศพไปฝังข้างพระศพพระมารดา มีการกล่าวขานกันว่า .. นายช่างผู้ออกแบบถูกประหารชีวิต เพื่อไม่ให้ไปออกแบบสิ่งก่อสร้างที่สวยงามแห่งอื่นอีก

ที่มา :http://oknation.nationtv.tv/blog/supawan/2015/01/07/entry-1

ค่าเข้าชมสำหรับคนต่างชาติคนละ 50 รูปี 

















































ชมอิตมัน อุ ดุลลาห์ (Itimad ud daula's Tomb) Baby Taj สุสานหินอ่อนริมฝั่งขวาของแม่น้ำยมุนา

สุสานอันงดงามตระการตาแห่งนี้มีชื่อเรียกอีกชื่อว่า เบบี้ ทัช (Baby Taj) สร้างขึ้นมาจากหินอ่อนขาวบริสุทธิ์ล้วนๆ และเป็นที่เลื่องชื่อด้านงานแกะสลักที่อ่อนช้อยและละเอียดวิจิตรยิ่ง
แม้ว่าสุสานอิตมัดอุดดุลลาห์จะมีขนาดเล็กกว่าและเป็นที่รู้จักกันน้อยกว่าทัชมาฮาลอันโด่งดังที่ตั้งอยู่ใกล้ๆ แต่สุสานแห่งนี้ก็ยังคงสร้างความประทับใจให้กับผู้มาเยือนได้ไม่แพ้กัน ผ่านงานตกแต่งฝังพลอยที่มีความประณีตสูงคู่กับกระเบื้องโมเสกที่มีสีสันสวยสะดุดตา ใช้เวลาในการสำรวจสิ่งปลูกสร้างอันสุดแสนวิจิตรที่ควรค่าแก่การชื่นชมแห่งนี้ ซึ่งมาพร้อมกับบรรยากาศริมแม่น้ำที่มีผู้คนเพียงเบาบาง ให้บรรยากาศที่สงบและผ่อนคลาย แตกต่างจากทัชมาฮาลที่มีผู้คนคราคร่ำและวุ่นวายโดยสิ้นเชิง
สุสานแห่งนี้สร้างขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่นายมีร์ซา กียาซ เบค (Mirza Ghiyas Beg) พ่อค้าที่ทำการค้าจนล้มละลาย แต่โชคชะตากลับพลิกผันหลังจากที่บุตรสาวของเขานามว่า นูร์ ชะฮัน (Nur Jahan) ได้ถือกำเนิดขึ้นมา ซึ่งต่อมานายกียาซ เบคได้ก้าวขึ้นเป็นเสนาบดีฝ่ายการคลังของสมเด็จพระจักรพรรดิชะฮันคีร์แห่งราชวงศ์โมกุล (Mughal Emperor Jahangir) และได้รับฐานันดรอิตมัดอุดดุลลาห์ (เสาหลักแห่งจักรวรรดิโมกุล) ขณะที่บุตรีของเขาเป็นพระมเหสีของท่านจักรพรรดิ และพระจักรพรรดินีนูร์ ชะฮันนี่เองที่ทรงได้สร้างสุสานขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์สถานแก่นายมีร์ซา กียาซ เบคในช่วงทศวรรษที่ 1620 ส่วนทัชมาฮาลนั้นเป็นอนุสรณ์สถานที่สร้างให้กับหลานสาวของเขานามว่าพระนางมุมตาซ มหัล (Mumtaz Mahal)

สุสานอิตมัดอุดดุลลาห์ตั้งอยู่ที่บริเวณริมฝั่งตะวันออกของแม่น้ำยมุนา อยู่ห่างจากอนุสรณ์ทัชมาฮาลไม่มากโดยใช้เวลาขับรถไม่ถึง 30 นาที สุสานเปิดให้เข้าชมทุกวันโดยคิดค่าธรรมเนียม คนละ 15 รูปี

ที่มา: https://www.expedia.co.th/Itmad-Ud-Daulahs-Tomb-Agra.d6106494.Place-To-Visit







เมื่อเข้ามาในบริเวณเบบี้ ทัช (Baby Taj) เค้าให้ถอดรองเท้า ถ้าไม้ต้องการถอดรองเท้าก็จะมีขายรองเท้าผ้าสวมทับรองเท้าไม่แน่ใจว่าคนละ 10 รูปีหรือ 20 รูปี ต่อรองได้ค่ะ






ตรงสนามด้านหน้าก็จะมีหญิงอินเดียมาตัดหญ้ากัน และพยายามชวนเราถ่ายภาพ ดีนะที่เราไม่หลงกล ไม่งั้นพอถ่ายภาพปุ๊มเรียกเก็บเงินทันทีเลยล่ะ










เข้าพักที่ Hotal Atulyaa Taj
ที่อยู่: 538, Near Shilp Gram, Taj Mahal Eastern Gate, Agra, Uttar Pradesh 282001 อินเดีย
โทรศัพท์: +91 562 223 3075









รับประทานอาหารเย็นที่โรงแรม




































ชมทัชมาฮาล (Taj Mahal) อนุสาวรีย์แห่งความรัก
































































































 





รับประทานอาหารเช้าที่โรงแรม
08.00 น เดินทางไปนิวเดลี โดยรถบัส

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ตอนที่ 1 เดินทางเ แคชเมียร์ ประเทศอินเดีย 10-17 เมษายน 2560 (10 เมษายน 2561)

ตอนที่ 1 เดินทางเ แคชเมียร์ ประเทศอินเดีย 10-17 เมษายน 2560 (10-11 เมษายน 2561) การเตรียมตัว สนามบินสุราษฎร์ธานี   สนามบินดอนเมือง สนามบินสุวรรณภูมิ  สนามบินนิวเดลี สนามบินศรีนาคา  เข้าพักที่ Chicago Group of Houseboats ตอนที่ 1    ตอนที่ 2     ตอนที่ 3    ตอนที่ 4     ตอนที่ 5     ตอนที่ 6 การเตรียมตัวก่อนการเดินทาง จองตั๋วเครื่องบิน การซื้อทัวร์ที่ SRINAGAR การขอ E-VISA การทำประกันการเดินทาง เดินทางในประเทศ เที่ยวไป 10 เมษายน 2561 เดินทางโดย นกแอร์ สุราษฎร์ธานี - ดอนเมือง เวลา 18.10 - 19.20 น. เที่ยวกลับ 17 เมษายน 2561 เดินทางโดยไลออนแอร์ ดอนเมือง - สุราษฎร์ธานี 08.50-10.00 น. เดินทางต่างประเทศ เดินทางโดย Spice Jet http://www.spicejet.com/ เที่ยวไป SG88 วันที่ 11 เมษายน 2561 จากสนามบินสุวรรณภูมิ BKK - สนามบินเดลี DEL/ T3  เวลา 03.50-06.25 เที่ยวไป SG937 วันที่ 11 เมษายน 2561 จากสนามบินเดลี DEL- สนามบินศรีนาคา SXR  เวลา 09.50-11.40 เที่ยวกลับ SG144 วันที่ 16 เมษายน 2561 จากสนามบินศรีนาคา SXR -สนามบินเดลี DEL เวลา 12.20-14.00 เที่ยวกลับ SG87 วันที่ 16

ตอนที่ 1 เดินทางเลห์ ลาดักห์ ประเทศอินเดีย 7-15 เมษายน 2560 (7-9 เมษายน 2560 เดินทาง โกลกัตตา-นิวเดลี-เลห์)

ตอนที่ 1 เดินทางเลห์ ลาดัก ประเทศอินเดีย (เตรียมพร้อมก่อนเดินทาง เดินทางจากสุราษฎร์ธานี-สนามบินดอนเมือง-สนามบินสุวรรณภูมิ - สนามบินกัลกัตตา Kolkata I -สนามบินนิวเดลลี) ตอนที่ 1   ตอนที่ 2   ตอนที่ 3   ตอนที่ 4   ตอนที่ 5   ตอนที่ 6 ก่อนเดินทางไปเลห์ ลาดัก ประเทศอินเดีย สิ่งแรกก็ต้องศึกษาข้อมูลเบื้องต้นก่อนก็คือดูว่าอยู่ส่วนไหนของประเทศอินเดีย ครั้งนี้เป็นครั้งที่ 2 ที่เดินทางไปอินเดีย ครั้งแรกไปสิกขิมอยู่ทางเหนือของอินเดีย อยู่ระหว่าเนปาลกับภูฎาน แต่เลห์ ลาดัก จะขึ้นไปทางเหนือของอินเดียมากกว่าสิกขิม เลยเมืองนิวเดลี ขึ้นไป ทางด้านปากีสถานดูแผนที่ด้านล่างประกอบนะคะ ต่อมาก็เริ่มศึกษาจากรีวิว เลห์ ลาดักห์ จากหลายๆแหล่ง มีเยอะมากแสดงว่าคนนิยมมาเที่ยวที่นี่ โดยเฉพาะจาก YouTube ชอบหลายคลิป โดยเฉพาะของรายการคนค้นคน...และของรายการ Travel Channel Thailand ช่วงนี้ว่างเป็นต้องชมคลิป เลห์ ลาดักห์.....เพื่อความสะดวกในการชมคลิปขอนำมาแปะที่หน้าบล็อกนี้เลย.....นี่ขนาดยังไม่ได้เดินทางไปนะคะยังฟินขนาดนี้.....😍😍 ลำดับต่อมาก็คือการจองตั๋ว ปกติไปเที่ยวต่างประเทศก็ไม่ค่อยได้

ตอนที่ 4 เดินทางเลห์ ลาดักห์ ประเทศอินเดีย 7-15 เมษายน 2560 (12 เมษายน 2560 LEH)

ตอนที่ 4 เดินทางเลห์ ลาดักห์ ประเทศอินเดีย 7-15 เมษายน 2560 (12 เมษายน 2560 LEH) ตอนที่ 1    ตอนที่ 2    ตอนที่ 3    ตอนที่ 4    ตอนที่ 5    ตอนที่ 6 12 เมษายน 2560 ตื่นเช้าเตรียมพร้อมสำหรับเดินทางผ่านภูเขาหิมะจากตัวเมือง Leh Ladakh สู่ Pangong Lake ทะเลสาบน้ำแข็ง กำหนดว่าจะออกเดินทาง 6.00 น. โดยเค้าจะเตรียม Breakfast Box ให้ อากาศจะหนาวมากให้เตรียมของไปให้พร้อมด้วย น้ำดื่ม และอ๊อกซิเจนกระป๋องห้ามลืมนะคะสำคัญมากๆ คณะที่ไปทะเลสาบปันกองมีที่ขอ Permit ไว้ 7 คน (น้าวัช น้องเขม น้องเอ็ต น้องพลอย น้องกิต พี่ตุ๊ พี่แดง ) ยื่นขอไว้ตั้งแต่วันแรกที่เรามาถึง หิมะตกมากทางปิดมา 2-3 วันแล้วโชคดีที่วันนี้ไปได้ ระยะทางประมาณ 120 km ใช้เวลาเดินทางถึง 6 ชั่วโมงไปกลับ 12 ชั่วโมง...บรรยากาศระหว่างการเดินทางดูจากภาพนะคะ ชัดเจนกว่าการบรรยายแน่นอน...แบ่งเส้นทางเป็น 3 ระดับ ระดับที่ 1 คือช่วงที่ออกจากเมือง Leh ถนนลาดยาง ระดับที่ 2 เริ่มออกนอกเมือง เริ่มเป็นถนนหิน+ดิน ระยะที่ 3 เป็นถนนที่เลียบภูเขาและผ่านหิมะ ค่อนข้างโหด........... จุดที่พักเข้าห้องน้ำ จุดแรกหนาวมากๆๆๆๆๆ เดินไปห้องน้ำ ต้องเ