ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ตอนที่ 3 เดินทาง 3 แคว้นแดนอินเดีย (อักรา นิวเดลี อัมริดสา ) 10-11 กรกฎาคม 2560

ตอนที่ 3 ท่องเที่ยวอินเดีย (อักรา นิวเดลี อัมริดสา ) 10-11 กรกฎาคม 2560

ส่วนนำ  ตอนที่ 1  ตอนที่ 2  ตอนที่ 3  ตอนที่ 4  ตอนที่ 5
08.00 น.เดินทางจากอักรา ไปนิวเดลีโดยรถบัส 13.00 น.ถึงสนามบินอินทิรา คานธี เทอร์มินอล 1
รับประทานอาหารกลางวันที่สนามบิน ระหว่างรอเครื่อง Shopping เครื่องสำอาง Himalaya แนะนำนะคะถ้าจะซื้อเจอที่ไหนให้ซื้อเลยค่ะ ซื้อสะสมไปเรื่อยๆ แต่ละที่จะมีไม่เหมือนกัน ใครไม่ Shopping ก็ช่วยเฝ้ากระเป๋าละกัน
15.30 น.เดินทางไปสนามบิน Sri Ram Dass Jee International Airport เมืองอัมริสา โดยสายการบิน SpiceJet เที่ยวบินที่  SG2515






14.45 น.ถึงสนามบินอัมริตสา  รถที่พี่ตู่เช้าไว้ก็มารอรับพวกเรา เป็นรถตู้ จากนั้นก็เดินทางเข้าพักที่โรงแรม Hotel City Heart โรงเรียนอยู่ใจกลางตลาดเลย แต่รถเข้าไปไม่ได้ ต้องจอดด้านนอกเราต้องเดินเข้าไป ถนนก็แคบมากเดินต้องระวังมากเลย

เมืองอัมริตสาหรือ เมืองอมฤตสาร์ 

ตั้งอยู่ในรัฐปัญจาบ ซึ่งเป็นรัฐที่ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศอินเดีย มีเขตติดต่อกับรัฐหิมาจัลประเทศทางตะวันออกเฉียงเหนือ ทางทิศตะวันตกติดกับประเทศปากีสถาน ส่วนทิศใต้ติดกับรัฐราชาสถาน ส่วนทางตะวันออกเฉียงใต้ ติดกับ รัฐหรยาณา ซึ่งรัฐหรยาณานี้เป็นดินแดนที่มีความสำคัญในประวัติศาสตร์ เป็นที่ตั้งของทุ่งกุรุเกษตรในมหาภารตะ รัฐปัญจาบมีเมืองหลวงชื่อจัณฑีครห์ มีประชากร ประมาณ 24 ล้านคน รัฐนี้ยังเป็นศูนย์กลางของชาวซิกข์





รับประทานอาหารเย็นเพื่อความสะดวกเราไปทานที่โรงแรมใกล้คือ Hotel City Park โรงแรมที่เราพักไม่มีห้องอาหาร พรุ่งนี้อาหารเช้าก็ต้องมาทานที่นี่ ห้องพักที่เราจองกันไม่รวมค่าอาหารจะต้องจ่ายนอก






ชม katra Jaima Singh market อยู่บริเวณโรงแรม ห่างจากโรงแรม 0.858 มีสินค้าหลากหลาย เสื้อผ้า รองเท้า แต่จะคล้ายๆกัน คืนนี้ยังไม่ซื้ออะไรของสำรวจสินค้าก่อน ระหว่างเดินจะมีขายผ้าโพกหัวขายเยอะ จำได้ว่าก่อนมาเคยดู YouTube เมื่อเข้าไปวิหารทองคำทุกคนจะต้องโพกหัว เสียดายจังเลยถ้าตอนนั้นซื้อผ้าใหม่ๆซักผืนหรือเตรียมผ้าโพกหัวไปเองก็จะดี ไม่ต้องใช้ปนกับคนอื่น









ชมวิหารทองคำ Harmandir Sahib/Golden Temple  เมืองอัมริตสาร์ อินเดีย

ตั้งอยู่ใจกลางเมืองอัมริตสา อัมฤต แปลว่า น้ำศักดิ์สิทธิ์ เนื่องจากที่นี่มีบ่อน้ำแร่ที่คนเจ็บป่วยได้อาบหรือดื่มกินจะหายจากโรคภัยไข้เจ็บ กิตติศัพท์ความศักดิ์สิทธิ์ของน้ำแร่นี้เลื่องลือไปไกล ผู้คนหลั่งไหลเดินทางมารักษาโรคเป็นประจำ และเรียกสถานที่แห่งนี้ว่า อัมริตสา ที่มาของอมริตสาเริ่มเมื่อคุรุรามดาส ศาสดาองค์ที่ 4 ของศาสนาซิกข์ ได้ซื้อที่ดินบริเวณบ่อน้ำแร่ในหมู่บ้าน Tung จากเจ้าของหมู่บ้าด้วยราคา 700 รูปี จากนั้นก็ขุดบ่อน้ำแร่ให้กว้างขึ้นจนเหมือทะเลสาบ และในศตวรรษที่ 16 ได้สร้างโบสถ์ทองคำขึ้นกลางสระ ให้ชื่อว่า Hari Mandir หรือ Temple of God เป็นศูนย์รวมจิตวิญญาณของชาวสิกข์ ภายหลังวิหารทองคำถูกพวกมุสลิมบุกทำลายเสียหาย ต้องสร้างขึ้นใหม่และสวยงามกว่าเดิม แต่แล้วในปี พ.ศ. 2527 ก็ถูกทำลายเสียหายอีกครั้งเมื่อรัฐบาลอินเดียส่งกองกำลัง ปฏิบัติการบลูสตาร์ เข้าปราบปรามกวาดล้างขบวนการต่อสู้เพื่อความเป็นรัฐซิกข์อิสระเหนือเขตพื้นที่ที่วิหารตั้งอยู่ มีผู้เสียชีวิตกว่า 2,000 คน บางส่วนของวิหารทองคำ เสียหายยับเยิน เดือนกันยายน พ.ศ. 2527 รัฐบาลอินเดียเข้ามาทำการซ่อมแซมวิหารที่เสียหาย เพื่อปลุกขวัญและจิตวิญญาณแห่งซิกข์ขึ้นมาอีกครั้ง ในปี พ.ศ. 2529 ชาวซิกข์ได้รื้องานซ่อมแซมของรัฐบาลอินเดียทั้งหมดและลงมือสร้างใหม่ด้วยฝีมือช่างซิกข์ล้วนๆ จนสวยงามสมบูรณ์แบบดังที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน

ที่มา: http://taraarryatravel.com/info_page.php?id=476&category=34












































เดินกันจนเหนื่อยออกมานั่งเล่นด้านนอกมีลมพัดสบายเชียว นั่งดูคนเพลินๆ พร้อมกันบริเวณที่ฝากรองเท้า ทุกคนที่เข้าไปไหว้พระ วิหารทองคำ อัมริตสา ก่อนเข้าไปจะต้องฝากรองเท้า กลุ่มพวกเรารวมกันฝากไว้ในถุงเดียวกันสะดวกดี เดินกลับโรงแรม พักผ่อนร่างกาย พร้อมลุยต่อวันพรุ่งนี้ล่ะค่ะ....

เช้าวันที่ 11 กรกฎาคม 2560
ตื่นเช้าก่อนทานอาหารเช้า ออกมาเดินเล่นกับน้องพลอย ถ่ายภาพบรรยากาศต่างๆบริเวณหน้าวิหารทองคำ มีคนนอนบนพื้นลานด้านนอก แสดงว่าเมื่อคืนเค้านอนกันยังไงนะนี่มีฝนตกด้วย ระหว่างเดินต้องระวังนะคะ เดินดีไม่ดี เหยียบ ขรี้ ได้นะ ดูแลสวัสดิภาพของตัวเองด้วย
































คนอินเดียเค้าชอบถ่ายภาพนะคะ มายืน ให้ถ่ายรูปให้ความร่วมมือดีมาก



































































สวนพลีชีพ Jallianwala Bagh
เป็นสวนสาธารณะเขียวชอุ่มร่มรื่นด้วยพรรณไม้ มีอนุสาวรีย์ Jallianwala Bagh ตั้งอยู่กลางสนามหญ้าในสวนเล็กๆสร้างขึ้นเพื่อระลึกถึงการสังหารหมู่ที่เกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2462 ในยุคอินเดียตกอยู่ใต้การปกครองของสหราชอาณาจักร ในวันที่อากาศร้อนจัดของเดือนเมษายน นายพล Reginald Dyer แห่งสหราชอาณาจักร ได้ให้สัญญาณทหารหนึ่งหมวดยิงการาดใส่ผู้ชุมนุมที่ปราศจากอาวุธเสียชีวิต 379 คน บาดเจ็บ 1200 คน ส่วนหนึ่งที่หนีไปซ่อนตัวอยุ่ในบ่อน้ำท้ายสวน เสียชีวิตจากการจมน้ำตายทั้งหมด เหตุการณ์นี้สร้างความสะเทือนขวัญอย่างรุนแรง มีส่วนผลักดันให้การเรียกร้องเอกราชด้วยวิธีอหิงสาของมหาตมะ คานธี ประสบความสำเร็จเร็วขึ้น เหตุการณ์สังหารหมู่นี้ปรากฏเป็นฉากหนึ่งในภาพยนตร์เรื่อง คานธี ด้วย














































ระหว่างรอรถมารับไปเที่ยววันนี้ นั่งรอกันชิลๆ

















วัด Durgiana Temple เมืองอัมริตสาร์ อินเดีย

วัดนี้สร้างขึ้นในศตวรรษที่ 20 เป็นวัดในศาสนาฮินดู เนื่องจากมีชาวฮินดูอาศัยอยู่ในเมืองอัมริตสาเป็นจำนวนมาก วัดนี้มีความคล้ายกับวิหารทองคำแต่มีขนาดเล็กกว่ามาก โดยตัววิหารตั้งอยู่กลางน้ำเป็นสีทอง ยอดโดมเคลือบด้วยทองคำ ตัววิหารครึ่งบนเป็นทองเหลือเคลือบทองคำ ส่วนครึ่งล่างของตัววิหารเป็นหินอ่อน ประตูทางเข้ามีการแกะสลักด้วยเงินเป็นรูปแกะสลักเทพเจ้าในศาสนาฮินดู พระแม่กาลี พระแม่อุมาเทวี พระแม่ทุรคา รูปแกะสลักสิงโต ภายในประดิษฐานรูปเคารพของท่าน Pandit Madan Mohan Malviya ท่านเป็นบัณฑิต ด้านการศึกษาของอินเดียและ นักการเมือง ที่โดดเด่น มีบทบาทในการเคลื่อนไหวเรียกร้อง อิสรภาพของอินเดีย ซึ่งแกะสลักจากหิน ภายในไม่อนุญาตให้ถ่ายรูป ก่อนเข้าวัดต้องถอดรองเท้า และล้างเท้าทุกครั้ง




































พิพิธภัณฑ์ Maharaja Ranjit Singh Panorama พระราชวัง Ram Bagh ถูกดัดแปลงเป็นพิพิธภัณฑ์ในปี พ.ศ.2520  รวบรวมภาพเขียนที่บันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติของศาสนาซิกข์
















รับประทานอาหารกลางวันที่ร้าน Crystal หลังจากวนหาร้านอาหารซะหลายร้าน












พิธีปิดชายแดน Closing Ceremony
Wagah Border ด่านพรมแดนระหว่างอินเดียและปากีถาน ชมพิธีเปลี่ยนเวรยาม

จากนั้นเดินทางสู่ เมืองAtari เมืองหน้าด่านพรมแดนอินเดียและปากีสถาน สู่ ด่าน Wagah Border ด่านพรมแดนระหว่างอินเดีย และ ปากีสถาน ชมพิธีการเปลี่ยนเวรยาม ที่มีการประชันลีลาต่างๆ ของทหารอินเดียและปากีสถาน แข่งขันกันแบบชนิดที่ว่าไม่ยอมน้อยหน้ากันเลยทีเดียว สร้างความสนุกสนานและตื่นตาตื่นใจแก่นักท่องเที่ยวที่ได้มาชมเป็นอย่างมาก 

เรามาถึงด่านตั้งแต่บ่าย อากาศร้อนมากเตรียมหมวก ร่ม เค้าไม่อนุญาตให้เอากระเป๋าใบใหญ่เข้าไป เอาไปได้เฉพาะกระเป๋าใบเล็กๆ พอใส่กระเป๋าเงินและ  Passport พอมาถึงก็มีคนอินเดียยืนต่อแถวแยกชายหญิงแถวยาว พวกเราก็ไปยืนแต่คนต่างชาติเค้าให้เข้าแถวแยก และเค้าบอกว่าให้ไปรอตรงอื่นก่อนก็ได้แล้วค่อยมาเมื่อถึงเวลา พวกเราเลือกที่นั่งที่จอดรถ นั่งสบายไม่ร้อนด้วย ก็นั่งเพลินๆ คนต่างชาติมานั่งกันตรงนี้เป้นส่วนใหญ่  รอเจ้าหน้าที่จะให้สัญญาและเปิดประตู  เพื่อให้เราเดินเท้าเข้าไปสู่บริเวณชายแดน ระยะที่จอดรถจนถึงชายแดนอยู่ที่ประมาณ 2 กิโลเมตรได้ เมื่อประตูเปิดแล้ว นักท่องเที่ยวก็เดินเข้าไปแล้วแยกแถวเป็นชายและหญิง และจะมีทหารคอยจัดแถวและบอกให้เดินตลอดทางกว่าจะเดินไปถึงชายแดนจริงๆก็ใช้เวลาประมาณ 30 นาที มีการตรวจร่างกายก่อนถึงชายแดนเพื่อความปลอดภัย เมื่อถึงชายแดนแล้วก็เข้าไปนั่งที่อัฒจรรย์ที่เขาจัดไว้ให้  แยกโซนที่นั่งระหว่างคนต่างชาติและคนอินเดีย การไปชมพิธีเปลี่ยนเวรนี้ไม่เสียค่าเข้าชม หลังจากนั่งแล้ว ชาวอินเดีย ก็จะมีการร้องรำทำเพลง ตะโกนชื่อประเทศตนเองคือ ฮินดูสถานดังกึกก้องทั่วทั้งชายแดนมีการวิ่งถือธงไปมา เพื่อปลุกใจใช้ชาวอินเดียช่วยกันร้องเพลง เหมือนเป็นการแสดงพลังความสามัคคี สร้างความหึกเหิมในใจ ในขณะเดียวกันเมื่อเรามองไปทางปากีสถาน ก็มีเสียงแต่ไม่ดังเท่ากับทางอินเดีย ก็เป็นบรรยากาศสนุกสนานไปอีกแบบหนึ่ง พอเมื่อพิธีการเปลี่ยนเวรเริ่มขึ้นทหารทั้งสองฝ่ายก็เดินสวนสนามไปมาในเขตของตัวเอง และเปิดชายแดนจับมือกัน สะบัดก้นใส่กัน การแสดงอยู่ประมาณ 50 นาที
( ข้อมูลประกอบการเขียนบางส่วนจากเว็บไซต์ http://taraarryatravel.com/info_page.php?id=476&category=34 )

























ระหว่างทำพิธีการเปลี่ยนเวรยามไม่ทันจะเสร็จ ฝนก็ตกอย่างหนักทั้งลมทั้งฝน  คนก็วิ่งกรูเข้ามาในที่ร่มตอนนั้นรู้สึกกลัวมากเลย กลัวจะหลงกับกลุ่มที่มาด้วยกัน ทหารก็พยายามให้มาอยู่รวมกัน เค้าถามว่ามากันกี่คนก็มาอยู่รวมกันจนครบ ทหารเค้าก็พยายามระบายคนออกไปเรื่อยๆ ด็ดูว่าเค้าทำเป็นระบบดี คนเบาบางลงเค้าก็ให้พวกเราเดินออกมา เค้าไม่อนุญาตให้นำกระเป๋าเข้าไปด้านใน ถ้าใครถือมาเค้าจะให้ฝากไว้ด้านนอกมีที่รับฝาก ดีที่มีหมวก มีร่ม ไม่ให้กล้องถ่ายรูปและ Passport ถูกฝน เดินผ่าฝนออกมา น้ำท่วมถึงเข้า เปียกกันหมดเลย น้ากิตกับน้องพลอยรักษากล้องถ่ายรูปและPassport กันไว้ปลอดภัยไม่เปียก พี่ยิ่ง พี่ตู่ น่ารักมากๆ คอยเช็คว่าใครยังไม่มาก็ตามหากันจนครบ รวมกันเดินไปที่รถ เดินไปจนสุดทาง รถจอดอยู่ด้านนอกเอจะออกไปยังไงดี มีให้เลือก 2 ทางคือเดินกลับไปและอ้อมออกมาด้านนอกไปที่รถ หรืออีกทางนึงปีนจากตรงนี้ลงไป ขอเลือกทางที่ 2 แล้วกันปีนเหอะไม่ต้องเดินไกล ความจริงไม่แนวหรอกแต่เราทำได้ทั้งน้ากิต น้องพลอย และคนอื่นๆ เย้ๆๆๆ

พร้อมก็เดินทางกลับไปโรงแรมทั้งตัวเปียกๆ ร้องเท้าแต่ละคนก็เปียก...Crazy Step ของน้ากิตย่ำแย่แน่ๆ ของน้องพลอยก็รองเท้าใหม่เพิ่งจะถอยมาใส่งานนี้งานแรก เศร้าเลย...ทำใจ...ของมีไว้ใช้.....ถึงโรงแรมก็เดินออกไปหาซื้อรองเท้ามาใส่ก่อน..ไม่มีรองเท้าสำรองมาด้วย.....ซื้อขนมทานมื้อเย็น....จัดกระเป๋า...เตรียมพร้อมเดินทางพรุ่งนี้....ต้องออกเดินทางตั้งแต่ 05.00 น.....

ส่วนนำ  ตอนที่ 1  ตอนที่ 2  ตอนที่ 3  ตอนที่ 4  ตอนที่ 5

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ตอนที่ 1 เดินทางเ แคชเมียร์ ประเทศอินเดีย 10-17 เมษายน 2560 (10 เมษายน 2561)

ตอนที่ 1 เดินทางเ แคชเมียร์ ประเทศอินเดีย 10-17 เมษายน 2560 (10-11 เมษายน 2561) การเตรียมตัว สนามบินสุราษฎร์ธานี   สนามบินดอนเมือง สนามบินสุวรรณภูมิ  สนามบินนิวเดลี สนามบินศรีนาคา  เข้าพักที่ Chicago Group of Houseboats ตอนที่ 1    ตอนที่ 2     ตอนที่ 3    ตอนที่ 4     ตอนที่ 5     ตอนที่ 6 การเตรียมตัวก่อนการเดินทาง จองตั๋วเครื่องบิน การซื้อทัวร์ที่ SRINAGAR การขอ E-VISA การทำประกันการเดินทาง เดินทางในประเทศ เที่ยวไป 10 เมษายน 2561 เดินทางโดย นกแอร์ สุราษฎร์ธานี - ดอนเมือง เวลา 18.10 - 19.20 น. เที่ยวกลับ 17 เมษายน 2561 เดินทางโดยไลออนแอร์ ดอนเมือง - สุราษฎร์ธานี 08.50-10.00 น. เดินทางต่างประเทศ เดินทางโดย Spice Jet http://www.spicejet.com/ เที่ยวไป SG88 วันที่ 11 เมษายน 2561 จากสนามบินสุวรรณภูมิ BKK - สนามบินเดลี DEL/ T3  เวลา 03.50-06.25 เที่ยวไป SG937 วันที่ 11 เมษายน 2561 จากสนามบินเดลี DEL- สนามบินศรีนาคา SXR  เวลา 09.50-11.40 เที่ยวกลับ SG144 วันที่ 16 เมษายน 2561 จากสนามบินศรีนาคา SXR -สนามบินเดลี DEL เวลา 12.20-14.00 เที่ยวกลับ SG87 วันที่ 16

ตอนที่ 1 เดินทางเลห์ ลาดักห์ ประเทศอินเดีย 7-15 เมษายน 2560 (7-9 เมษายน 2560 เดินทาง โกลกัตตา-นิวเดลี-เลห์)

ตอนที่ 1 เดินทางเลห์ ลาดัก ประเทศอินเดีย (เตรียมพร้อมก่อนเดินทาง เดินทางจากสุราษฎร์ธานี-สนามบินดอนเมือง-สนามบินสุวรรณภูมิ - สนามบินกัลกัตตา Kolkata I -สนามบินนิวเดลลี) ตอนที่ 1   ตอนที่ 2   ตอนที่ 3   ตอนที่ 4   ตอนที่ 5   ตอนที่ 6 ก่อนเดินทางไปเลห์ ลาดัก ประเทศอินเดีย สิ่งแรกก็ต้องศึกษาข้อมูลเบื้องต้นก่อนก็คือดูว่าอยู่ส่วนไหนของประเทศอินเดีย ครั้งนี้เป็นครั้งที่ 2 ที่เดินทางไปอินเดีย ครั้งแรกไปสิกขิมอยู่ทางเหนือของอินเดีย อยู่ระหว่าเนปาลกับภูฎาน แต่เลห์ ลาดัก จะขึ้นไปทางเหนือของอินเดียมากกว่าสิกขิม เลยเมืองนิวเดลี ขึ้นไป ทางด้านปากีสถานดูแผนที่ด้านล่างประกอบนะคะ ต่อมาก็เริ่มศึกษาจากรีวิว เลห์ ลาดักห์ จากหลายๆแหล่ง มีเยอะมากแสดงว่าคนนิยมมาเที่ยวที่นี่ โดยเฉพาะจาก YouTube ชอบหลายคลิป โดยเฉพาะของรายการคนค้นคน...และของรายการ Travel Channel Thailand ช่วงนี้ว่างเป็นต้องชมคลิป เลห์ ลาดักห์.....เพื่อความสะดวกในการชมคลิปขอนำมาแปะที่หน้าบล็อกนี้เลย.....นี่ขนาดยังไม่ได้เดินทางไปนะคะยังฟินขนาดนี้.....😍😍 ลำดับต่อมาก็คือการจองตั๋ว ปกติไปเที่ยวต่างประเทศก็ไม่ค่อยได้

ตอนที่ 4 เดินทางเลห์ ลาดักห์ ประเทศอินเดีย 7-15 เมษายน 2560 (12 เมษายน 2560 LEH)

ตอนที่ 4 เดินทางเลห์ ลาดักห์ ประเทศอินเดีย 7-15 เมษายน 2560 (12 เมษายน 2560 LEH) ตอนที่ 1    ตอนที่ 2    ตอนที่ 3    ตอนที่ 4    ตอนที่ 5    ตอนที่ 6 12 เมษายน 2560 ตื่นเช้าเตรียมพร้อมสำหรับเดินทางผ่านภูเขาหิมะจากตัวเมือง Leh Ladakh สู่ Pangong Lake ทะเลสาบน้ำแข็ง กำหนดว่าจะออกเดินทาง 6.00 น. โดยเค้าจะเตรียม Breakfast Box ให้ อากาศจะหนาวมากให้เตรียมของไปให้พร้อมด้วย น้ำดื่ม และอ๊อกซิเจนกระป๋องห้ามลืมนะคะสำคัญมากๆ คณะที่ไปทะเลสาบปันกองมีที่ขอ Permit ไว้ 7 คน (น้าวัช น้องเขม น้องเอ็ต น้องพลอย น้องกิต พี่ตุ๊ พี่แดง ) ยื่นขอไว้ตั้งแต่วันแรกที่เรามาถึง หิมะตกมากทางปิดมา 2-3 วันแล้วโชคดีที่วันนี้ไปได้ ระยะทางประมาณ 120 km ใช้เวลาเดินทางถึง 6 ชั่วโมงไปกลับ 12 ชั่วโมง...บรรยากาศระหว่างการเดินทางดูจากภาพนะคะ ชัดเจนกว่าการบรรยายแน่นอน...แบ่งเส้นทางเป็น 3 ระดับ ระดับที่ 1 คือช่วงที่ออกจากเมือง Leh ถนนลาดยาง ระดับที่ 2 เริ่มออกนอกเมือง เริ่มเป็นถนนหิน+ดิน ระยะที่ 3 เป็นถนนที่เลียบภูเขาและผ่านหิมะ ค่อนข้างโหด........... จุดที่พักเข้าห้องน้ำ จุดแรกหนาวมากๆๆๆๆๆ เดินไปห้องน้ำ ต้องเ