ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ตอนที่ 3 เดินทางหลวงพระบาง 7-11 มกราคม 2559 (10 มกราคม 2560)

ตอนที่ 3 เดินทางหลวงพระบาง  7-11 มกราคม 2559  (10 มกราคม 2560)
ตอนที่ 1 ตอนที่ 2 ตอนที่ 3 ตอนที่ 4

วันที่ 10 มกราคม 2560 เช้าวันนี้จะไปตักบาตรข้าวเหนียว เดินไปหาตำแหน่งเหมาะๆ เสียดายที่ไม่ได้แต่งชุดลาว แต่ก็มีความตั้งใจเต็มร้อยที่จะตักบาตรข้าวเหนียว โดยซื้อข้าวเหนียวและขนมแห้งชุดละ 100 บาท มีข้าวเหนียว 1 กะติ๊บ+ขนมแห้ง 1 ตะกร้าเล็กๆ เค้ามีวิธีตักบาตรข้าวเหนียว หยิบข้าวเหนียวทีละนิด และขนม ตักไปเรื่อยๆจนหมด ขอย้ำนะคะถ้าแม่ค้าจะเอามาให้อีกเพราะเค้าจะคิดเงินเพิ่มอีกครั้งละ 100 บาทระวังด้วยนะคะเดี๋ยวแม่ค้าจะเอามาเพิ่มให้เรื่อยละแย่เลย.........พระจะมาเดินบิณฑบาตรเป็นวัดมีพระเยอะมาก แต่เช้านี้ฝนตกนักท่องเที่ยวก็ไม่มากเท่าไหร่ พี่ตู่พี่ยิ่งเล่าให้ฟังว่าเช้าเมื่อวานมีนักท่องเที่ยวเยอะมากเสียดายที่ไม่ได้ออกมา...วันนี้ไม่ค่อยคึกคัก...







เช้านี้ฝนตกปรอยๆ บรรยากาศก็สวยอีกแบบถือโอกาสถ่ายภาพเล่นกันหลายภาพ ถือโอกาสใช้ผ้าพันคอที่ซื้อเมื่อวานมาใช้ซะเลย...








































เดินมาทานอาหารเช้าวันนี้เมนูข้าวปุ้น  อร่อยดีค่ะทานจนอิ่มแล้วระหว่างนี้ฝนตกเยอะขึ้น พี่ตู่กับพี่ยิ่งกำลังตัดสินใจว่าจะเดินต่อไปที่วัดเชิงทองจะไหวป่าว ประเมินสถานการณ์ว่าไม่ไหวแน่ๆ พี่ยิ่งเสนอว่าไปนั่งทานกาแฟที่ร้านใกล้ๆน่าจะดีกว่า 







และแล้วพวกเราก็มาทานกาแฟที่ร้านนี้ดีมากๆๆ WIFI เร็วมากอับรูปกันสนุก ถึงกาแฟจะแพงซักหน่อยก็ถือว่าคุ้มเมื่อแลกกับได้นั่งหลบฝนแบบมีความสุขแถม WIFI ที่เร็วมาก...แค่นี้ก็ Happy แล้วล่ะค่ะ























ยังไงๆฝนก็ไม่หยุดตก เลยตัดสินใจกลับไปพักที่เกสเฮาส์ ประมาณ 10 โมงกว่า ก็เดินออกมาที่พิพิธภัณฑ์เมืองหลวงพระบาง หอพิพิธภัณฑ์เมืองหลวงพระบาง "ที่ประทับของเจ้ามหาชีวิตประเทศลาว"ตั้งอยู่ตรงข้ามกับทางขึ้นเขาภูสี หอพิพิธภัณฑ์หลวงพระบาง แต่เดิมเคยเป็นพระราชวังหลวงที่พำนักของเจ้ามหาชีวิต เริ่มก่อสร้างในปี พ.ศ.2447 ในสมัยพระเจ้าสักกะริน และมาแล้วเสร็จใน พ.ศ. 2452 ในสมัยพระเจ้าศรีสว่างวงศ์ ออกแบบโดยสถาปนิกชาวฝรั่งเศส ลักษณะเป็นหมู่อาคารชั้นเดียว มีแผนผังเป็นรูปกากบาท และสร้างฐานซ้อนกันหลายชั้น หลังคามุงกระเบื้อง นับเป็นการผสมผสานความลงตัวของตัวอาคารแบบฝรั่งเศสกับศิลปะแบบล้านช้างในตัวพระราชวังได้อย่างลงตัว โดยเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวงศ์ ประทับอยู่ที่พระราชวังหลวงพระบางจวบจนสิ้นพระชนม์ ต่อมาภายหลังเปลี่ยนระบอบการปกครองในประเทศลาวเมื่อพ.ศ.2518 รัฐบาลลาวได้ใช้พระราชวังหลวงนี้เป็นหอพิพิธภัณฑ์หลวงพระบาง และเปิดทำการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2519

เมื่อผ่านประตูทางเข้าไปแล้ว จุดเด่นที่สุดคือ แถวของต้นตาลขนาดใหญ่ที่ขนาบอยู่ทั้งซ้ายและขวาไปจนถึงตัวอาคาร จากนั้นเมื่อเข้าไปใกล้ก็จะเห็นหลังคามณฑปและรูปช้างสามเศียรบนหน้าบันด้านหน้า อันหมายถึง อาณาจักรล้านช้างทั้งสาม (หมายถึง หลวงพระบาง เวียงจันทน์ และจำปาสัก) โดยรายละเอียดส่วนนี้ ถูกเพิ่มเติมเข้ามาในปี พ.ศ. 2473 เมื่อเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวงศ์มีรับสั่งให้บูรณะระหว่างที่รอการสถาปนาราชอาณาจักรลาว ประกอบด้วยห้องเด่นๆหลายห้อง คือ

ห้องรับแขกของเจ้ามหาชีวิตหรือ ห้องฮับต้อน เป็นห้องสำหรับรับมอบสาสน์ตราตั้งต่างๆ มีรูปปั้นบรอนซ์ครึ่งพระองค์ของเจ้ามหาชีวิตมหินทรเทพ (เจ้าอุ่นคำ) , เจ้ามหาชีวิตสักกะริน (เจ้าคำสุก) และเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวงศ์ บนผนังเป็นภาพเขียนบนผ้าใบผืนใหญ่เกี่ยวกับชีวิตประจำวันของชาวลาว ภาีพฮีตประเพณีลาวที่สำคัญ ลักษณะงานศิลปะแบบ impressionism ฝีมือของจิตรกรหญิงของชาวฝรั่งเศสชื่อ อลิซ เดอ โฟเตอโร ซึ่งเขึยนขึ้นในปี พ.ศ.2473 และอีกผนังด้านหนึ่งยังมีภาพแกะไม้จากวรรณคดีรามเกียรติ์ ฝีมือสกุลช่างหลวงพระบางสายเพี้ยตัน

ท้องพระโรงใหญ่ เป็นสถานที่ออกต้อนรับราชฑูตจากประเทศต่างๆ ที่เข้ามาถวายพระราชสาสน์ตราตั้ง ฝาผนังประดับกระจกสีหรืองานประดับดอกดวง แบบเดียวกับที่วัดเชียงทอง เป็นเรื่องนิทานพื้นบ้านของลาว เช่น เรื่องท้าวจันทะพานิด เรื่องขุนบรม เรื่องตำนานการแห่งพระบางขึ้นมาจากเขร รวมทั้งเรื่องงานประเพณีในรอบปีหรือฮีตสิบสอง สุดท้องพระโรงเป็นพระราชบัลลังก์ทำด้วยไม้แกะสลักแล้วหุ้มทองคำอีกชั้น (มีเชื่อกกั้นห้ามนักท่องเที่ยวเข้า) บัลลังก์นี้เตรียมไว้สำหรับพิธีบรมราชาภิเษกเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวัฒนาในปี พ.ศ.2519 แต่ประเทศลาวเปลี่ยนแปลงการปกครองเสียก่อน ตู้กระจกรอบท้องพระโรงนี้ก็จัดแสดงเครื่องราชกุธภัณฑ์สำหรับใช้ในพิธีนี้เช่นกัน เช่น พระแสงขรรค์ ฉลองพระบาท พระแส้จามรี

ทางปีกซ้ายและขวาของห้องท้องพระโรงเป็นตู้จัดแสดงพระพุทธรูปทั้งทำด้วยทองคำ แก้ว สำริด หรือไม้ตีทองคำหุ้ม ส่วนใหญ่มีอายุในราวพุทธศตวรรษที่ 20-21 พระพุทธรูปเหล่านี้ส่วนมากพบอยู่ใต้ฐานของพระธาตุหมากโมเมื่อบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่เมื่อ พ.ศ.2457 ในสมัยพระเจ้าศรีสว่างวงศ์

• ห้องพิธีการ หรือท้องพระโรงหน้า เคยใช้เป็นห้องรับแขกภายในและคณะฑูตานุฑูตระหว่างเฝ้ารอรับเสด็จ และในบางโอกาสห้องพิธีการยังใช้เป็นที่ฟังธรรมสำหรับเจ้ามหาชีวิต รวมทั้งใช้จัดงานสำคัญของราชสำนัก เช่น งานอภิเษกสมรสของบรรดาราชวงศ์ฝ่ายในสิ่งของที่จัดแสดงอยู่ในปัจจุบันมี หอธรรมาสน์ เป็นไม้แกะสลักด้วยฝีมือสกุลช่างหลวงพระบาง, พระพุทธรูปสำริด ศิลปะลาวโบราณ มีอายุระหว่างพุทธศตวรรษที่ 17-19 , เศียรพระพุทธรูปมถุรา ซึ่งได้รับมอบมาจากรัฐบาลอินเดีย

ห้องรับแขกของมเหสี แบ่งเป็นสองตอน ห้องใหญ่ซึ่งเคยใช้เป็นห้องรับแขกของพระมเหสีมีตู้จัดแสดงของขวัญจากประเทศต่างๆ ที่ส่วนใหญ่ส่งมาถวายเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวงศ์วัฒนาในระหว่างที่จะเข้าพิธีบรมราชาภิเษก ส่วนห้องเล็กด้านในสุดจัดวางรูปเขียนสีน้ำมันขนาดใหญ่ของเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวัฒนา รูปพระมเหสีคำผุย และรูปเจ้าชายวงศ์สว่างมกุฎราชกุมาร วาดขึ้นในปี พ.ศ.2510 วาดโดยจิตรกรชาวรัสเซีย

ยอดมณฑปทอง แต่เดิมอาคารพระราชวังเป็นอาคารชั้นเดียวยกพื้นสูง รูปทรงแบบโคโลเนียลสไตล์ ต่อมาในพ.ศ.2473 พระเจ้าศรีสว่างวงศ์โปรดเกล้าให้สร้างหลังคาแบบมณฑปเพิ่มเติมขึ้น เพื่อให้มีรูปลักษณ์แบบศิลปะตะวันออก โดยมีรูปช้างสามเศียร อันเป็นสัญลักษณ์ของ "ราชอาณาจักรลาว" อยู่บนหน้าบันเหนือมุขทวารด้านหน้า

ค่าเข้าชม 30,000 กีบ (ประมาณ 120 บาท)
เปิดเวลา 08.00 - 11.30 น. และ 13.30 - 16.30 น. เปิดทุกวัน ยกเว้นวันอังคาร และวันหยุดรัฐการ (บุญปีใหม่ลาว บุญช่วงเฮือ วันชาติ และวันปีใหม่สากล)


• หมายเหตุ ภายในหอพิพิธภัณฑ์หลวงพระบาง ห้ามการถ่ายรูปทุกชนิดรวมถึงจดบันทึกอย่างเด็ดขาด และผู้เข้าชมต้องแต่งกายสุภาพ ไม่อนุญาตสวมกางเกงขาสั้น แว่นกันแดด และสวมหมวกและห้ามสูบบุหรี่ นักท่องเที่ยวจึงต้องฝากกล้องถ่ายรูปและกระเป๋าสัมภาระ ในตู้เก็บของที่มีกุญแจหนาแน่น (โดยไม่เสียค่าใช่จ่าย)

ที่มาข้อมูล: http://www.lannatouring.com/World/lao/Luangprabang/RoyalPalace-Phousi.htm












เสียดายมากเมื่อเข้าชมพิพิธภัณฑ์หลวงพระบางแล้วถึงเวลาที่เค้าปิดช่วงพักกลางวัน หอพระบางก็ปิดตามเวลาเช่นกันถ้าจะเข้าชมก็ต้องมาอีกครั้งเวลา 13.30 น.

พระบาง หอพระบาง : "สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองหลวงพระบาง"

หอพระบาง
นอกจากอาคารพระราชวังเดิมซึ่งปัจจุบันเปลี่ยนเป็นพิพิธภัณฑ์หลวงพระบางแล้ว ทางด้านขวามือของประตุทางเข้ายังมี "หอพระบาง" อาคารสีทองขนาดใหญ่ ทรงสิมแบบหลวงพระบาง ตกแต่งด้วยลายดอกดวง (กระจกสี) เพื่อใช้เป็นที่ประดิษฐานหลวงพระบาง โดยทางเมืองหลวงพระบาง ได้อัญเชิญพระบางย้ายมาประดิษฐานที่หอพระบางแห่งนี้เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2556 ส่วนทางด้านซ้ายมือของประตูทางเข้าก็คือ "อนุสาวรีย์เจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวงศ์" (ครองราชย์ตั้งแต่ พ.ศ. 2448-2502) โดยพระองค์ถือเป็นกษัตริย์ผู้พระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับแรก (ที่เขียนโดยคนลาว) ให้แก่ประเทศลาวในปี พ.ศ. 2490

พระบาง
พระบางพุทธลาวรรณ หรือเรียกกันทั่วไปว่า “ พระบาง” เป็นพระพุทธรูปปางห้ามสมุทร สูงสองศอกเจ็ดนิ้ว(ประมาณ 1.14 เมตร)หล่อด้วยสัมฤทธิ์(ทองคำผสม 90 เปอร์เซ็นต์) โดยมีพุทธลักษณะคือ ประทับยืนยกพระหัตถ์ขึ้น นิ้วพระหัตถ์เรียบเสมอกัน พระพักตร์ค่อนข้างเป็นรูปสี่เหลี่ยม พระนลาฏกว้าง พระขนงเป็นรูปปีกกา พระเนตรเรียว พระนาสิกค่อนข้างแบน พระโอษฐ์บาง พระเศียรและพระเกตุมาลาเกลี้ยงสำหรับสวมเครื่องทรง ปั้นพระองค์เล็ก พระโสภีใหญ่ ครองจีวรห่มคลุม แลเห็นแถบสบงและหน้านาง

ตามตำนานว่า พระเจ้ากรุงอินทรปัตหรือกัมพูชาได้มาจากลังกาทวีป พระอรหันต์นามว่า จุลนาคเถระ เป็นผู้หล่อขึ้นในปี พ.ศ. 436 โดยอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุมาประดิษฐานในองค์พระบางถึงหกตำแหน่ง วัตถุที่ใช้หล่อเป็นทองคำ ผสมทองแดงและเงิน โดยมีเนื้อทองคำถึง 90%

จนเมื่อ พ.ศ. 1902 พระเจ้าฟ้างุ้มกษัตริย์แห่งล้านช้างซึ่งมีความเกี่ยวพันทางเครือญาติกับพระเจ้ากรุงเขมร ได้ตีเมืองเชียงดง- เชียงทองแล้ว มีพระราชประสงค์ที่จะเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้ประดิษฐานมั่นคงในพระราชอาณาจักร จึงได้ทูลขอพระบางพระเจ้ากรุงอินทรปัตซึ่งเป็นพ่อตา เพื่อมาประดิษฐาน ณ เมืองเชียงทองอันเป็นนครหลวงของอาณาจักรล้านช้างในขณะนั้น

แต่เมื่ออันเชิญพระบางมาได้ถึงเมืองเวียงคำ(บริเวณแถบเมืองเวียงจันทร์ในปัจจุบัน) เพื่อหนึศึกพม่านั้น ก็มีเหตุอัศจรรย์ขึ้นจนไม่สามารถเดินทางต่อไปได้ พระบางจึงได้ประดิษฐานอยู่ที่เมืองนี้จนถึง พ.ศ. 2055 อันเป็นสมัยของพระเจ้าวิชุณราช ผู้ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นเจ้าเมืองเวียงคำมาก่อน ครั้นปี พ.ศ. 2103 พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชย้ายเมืองหลวงพระบางลงมายังเวียงจันทร์ พร้อมได้อัญเชิญพระแก้วมรกตมากรุงเวียงจันทน์ด้วย จึงสามารถนำเอาพระบางขึ้นไปประดิษฐานไว้ที่วัดวิชุนราชในนครเชียงทองต่อไป พร้อมกับเปลี่ยนชื่อเมืองเชียงทองเป็นนครหลวงพระบาง ทำให้เมืองเชียงทองถูกเรียกว่า หลวงพระบาง นับแต่นั้นเป็นต้นมา

ต่อมาในสมัยที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ได้ยกทัพเข้ายึดครองอาณาจักรล้านช้างไว้ได้ จึงได้อาราธนาพระบาง พร้อมทั้งพระแก้วมรกต ลงมาประดิษฐานที่กรุงธนบุรี ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช จึงได้พระราชทานพระบางคืนให้แก่เมืองหลวงพระบางดังเดิมตราบจนทุกวันนี้ ส่วนพระแก้วมรกตนั้นประดิษฐานอยู่ที่วัดพระแก้วในปัจจุบัน

พระบางนอกจากถือเป็นพระคู่เมืองหลวงพระบางแล้ว ยังเป็นพระพุทธรูปสำคัญที่สุดในประเทศลาวด้วย ปัจจุบันพระบางประดิษฐานอยู่ที่ หอพระบาง พิพิธภัณฑ์เมืองหลวงพระบาง

ที่มาข้อมูล: http://www.lannatouring.com/World/lao/Luangprabang/RoyalPalace-Phousi.htm












ทานอาหารกลางวันกันอิ่มแล้วก็เดินชมเมืองกัน ส่วนใหญ่ก็จะเป็นวัด ในหลวงพระบางมีวัดเยอะมาก เดินไปถนนเส้นไหนก็มีวัด ส่วนใหม่วัดมักจะอยู่ไกล้ๆกัน
















จากนั้นก็เดินไปที่แม่น้ำคาน ถ่ายภาพเล่นกันนิดหน่อย รอเวลาทานอาหารเย็น


















สุดท้านตัดสินใจทานอาหารมื้อเย็นที่ร้านหน้าที่พัก เค้าเปิดเป็นที่จำหน่ายสินค้าพื้นเมือง รับมาจากชาวบ้านโดยตรง และจำหน่ายอาหารด้วย อาหารอร่อยค่ะ วันนี้เจ้าของร้านแถมสลัดหลวงพระบางมาให้พวกเราด้วย 1 จานอร่อยมากติดใจเลยค่ะ  เจ้าของร้านบอกว่ามาหลวงพระบางแล้วไม่ได้กินสลัดหลวงพระบางถือว่ายังไม่ถึงหลวงพระบาง พรุ่งนี้ต้องมาทานร้านนี้อีก....อีกอย่างที่ติดใจพวกเราเป็นอย่างมากคือผ้าพันคอสวยๆ พวกเราเหมากันเกือบหมดแผงสวยๆทั้งนั้น โดยเฉพาะน้องพลอยปกติไม่ค่อยชอบใช้ผ้าพันคอ...มาครั้งนี้ได้ไปหลายผืน ทั้งเพื่อนๆฝากซื้อ พี่ฟ้าด้วย น้องพลอยบอกว่าจะซื้อเตรียมไปใช้ที่ญี่ปุ่น 555 Happy ทั้งน้า ทั้งหลาน...







ตอนที่ 1 ตอนที่ 2 ตอนที่ 3 ตอนที่ 4




ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ตอนที่ 1 เดินทางเ แคชเมียร์ ประเทศอินเดีย 10-17 เมษายน 2560 (10 เมษายน 2561)

ตอนที่ 1 เดินทางเ แคชเมียร์ ประเทศอินเดีย 10-17 เมษายน 2560 (10-11 เมษายน 2561) การเตรียมตัว สนามบินสุราษฎร์ธานี   สนามบินดอนเมือง สนามบินสุวรรณภูมิ  สนามบินนิวเดลี สนามบินศรีนาคา  เข้าพักที่ Chicago Group of Houseboats ตอนที่ 1    ตอนที่ 2     ตอนที่ 3    ตอนที่ 4     ตอนที่ 5     ตอนที่ 6 การเตรียมตัวก่อนการเดินทาง จองตั๋วเครื่องบิน การซื้อทัวร์ที่ SRINAGAR การขอ E-VISA การทำประกันการเดินทาง เดินทางในประเทศ เที่ยวไป 10 เมษายน 2561 เดินทางโดย นกแอร์ สุราษฎร์ธานี - ดอนเมือง เวลา 18.10 - 19.20 น. เที่ยวกลับ 17 เมษายน 2561 เดินทางโดยไลออนแอร์ ดอนเมือง - สุราษฎร์ธานี 08.50-10.00 น. เดินทางต่างประเทศ เดินทางโดย Spice Jet http://www.spicejet.com/ เที่ยวไป SG88 วันที่ 11 เมษายน 2561 จากสนามบินสุวรรณภูมิ BKK - สนามบินเดลี DEL/ T3  เวลา 03.50-06.25 เที่ยวไป SG937 วันที่ 11 เมษายน 2561 จากสนามบินเดลี DEL- สนามบินศรีนาคา SXR  เวลา 09.50-11.40 เที่ยวกลับ SG144 วันที่ 16 เมษายน 2561 จากสนามบินศรีนาคา SXR -สนามบินเดลี DEL เวลา 12.20-14.00 เที่ยวกลับ SG87 วันที่ 16

ตอนที่ 1 เดินทางเลห์ ลาดักห์ ประเทศอินเดีย 7-15 เมษายน 2560 (7-9 เมษายน 2560 เดินทาง โกลกัตตา-นิวเดลี-เลห์)

ตอนที่ 1 เดินทางเลห์ ลาดัก ประเทศอินเดีย (เตรียมพร้อมก่อนเดินทาง เดินทางจากสุราษฎร์ธานี-สนามบินดอนเมือง-สนามบินสุวรรณภูมิ - สนามบินกัลกัตตา Kolkata I -สนามบินนิวเดลลี) ตอนที่ 1   ตอนที่ 2   ตอนที่ 3   ตอนที่ 4   ตอนที่ 5   ตอนที่ 6 ก่อนเดินทางไปเลห์ ลาดัก ประเทศอินเดีย สิ่งแรกก็ต้องศึกษาข้อมูลเบื้องต้นก่อนก็คือดูว่าอยู่ส่วนไหนของประเทศอินเดีย ครั้งนี้เป็นครั้งที่ 2 ที่เดินทางไปอินเดีย ครั้งแรกไปสิกขิมอยู่ทางเหนือของอินเดีย อยู่ระหว่าเนปาลกับภูฎาน แต่เลห์ ลาดัก จะขึ้นไปทางเหนือของอินเดียมากกว่าสิกขิม เลยเมืองนิวเดลี ขึ้นไป ทางด้านปากีสถานดูแผนที่ด้านล่างประกอบนะคะ ต่อมาก็เริ่มศึกษาจากรีวิว เลห์ ลาดักห์ จากหลายๆแหล่ง มีเยอะมากแสดงว่าคนนิยมมาเที่ยวที่นี่ โดยเฉพาะจาก YouTube ชอบหลายคลิป โดยเฉพาะของรายการคนค้นคน...และของรายการ Travel Channel Thailand ช่วงนี้ว่างเป็นต้องชมคลิป เลห์ ลาดักห์.....เพื่อความสะดวกในการชมคลิปขอนำมาแปะที่หน้าบล็อกนี้เลย.....นี่ขนาดยังไม่ได้เดินทางไปนะคะยังฟินขนาดนี้.....😍😍 ลำดับต่อมาก็คือการจองตั๋ว ปกติไปเที่ยวต่างประเทศก็ไม่ค่อยได้

ตอนที่ 4 เดินทางเลห์ ลาดักห์ ประเทศอินเดีย 7-15 เมษายน 2560 (12 เมษายน 2560 LEH)

ตอนที่ 4 เดินทางเลห์ ลาดักห์ ประเทศอินเดีย 7-15 เมษายน 2560 (12 เมษายน 2560 LEH) ตอนที่ 1    ตอนที่ 2    ตอนที่ 3    ตอนที่ 4    ตอนที่ 5    ตอนที่ 6 12 เมษายน 2560 ตื่นเช้าเตรียมพร้อมสำหรับเดินทางผ่านภูเขาหิมะจากตัวเมือง Leh Ladakh สู่ Pangong Lake ทะเลสาบน้ำแข็ง กำหนดว่าจะออกเดินทาง 6.00 น. โดยเค้าจะเตรียม Breakfast Box ให้ อากาศจะหนาวมากให้เตรียมของไปให้พร้อมด้วย น้ำดื่ม และอ๊อกซิเจนกระป๋องห้ามลืมนะคะสำคัญมากๆ คณะที่ไปทะเลสาบปันกองมีที่ขอ Permit ไว้ 7 คน (น้าวัช น้องเขม น้องเอ็ต น้องพลอย น้องกิต พี่ตุ๊ พี่แดง ) ยื่นขอไว้ตั้งแต่วันแรกที่เรามาถึง หิมะตกมากทางปิดมา 2-3 วันแล้วโชคดีที่วันนี้ไปได้ ระยะทางประมาณ 120 km ใช้เวลาเดินทางถึง 6 ชั่วโมงไปกลับ 12 ชั่วโมง...บรรยากาศระหว่างการเดินทางดูจากภาพนะคะ ชัดเจนกว่าการบรรยายแน่นอน...แบ่งเส้นทางเป็น 3 ระดับ ระดับที่ 1 คือช่วงที่ออกจากเมือง Leh ถนนลาดยาง ระดับที่ 2 เริ่มออกนอกเมือง เริ่มเป็นถนนหิน+ดิน ระยะที่ 3 เป็นถนนที่เลียบภูเขาและผ่านหิมะ ค่อนข้างโหด........... จุดที่พักเข้าห้องน้ำ จุดแรกหนาวมากๆๆๆๆๆ เดินไปห้องน้ำ ต้องเ